News (สาระน่ารู้)


ถ้าพูดถึงชื่อ Hackulous หลายคนอาจจะไม่รู้จักแต่ถ้าหากบอกว่าเป็นเจ้าของผลงานแอพ Cydia ในตำนานที่อย่าง Installous ล่ะก็ผู้ Jailbreak ทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดีในฐานะที่เป็นแหล่งรวบรวมแอพให้ดาวน์โหลดและติดตั้งกันแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย มีตั้งแต่แอพแจกฟรีที่ไม่มีในสโตร์ของบางประเทศหรือไปจนถึงแอพที่ปกติต้องเสียเงินซื้อต่างๆ ก็สามารถหาได้จากที่นี่และยังดาวน์โหลดแอพเวอร์ชั่นเก่าย้อนหลังได้ด้วย

วันนี้ตัวเว็บไซต์หลักและ Repository หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Source ซึ่งเป็นที่อยู่เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลและดาวน์โหลดแอพของ Hackulous ใน Cydia ได้ปิดตัวลงแล้วอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ทำให้แอพ Installous ที่อยู่คู่วงการ Jailbreak มาอย่างยาวนานต้องยุติลงที่เพียงแค่เวอร์ชั่น 5 โดย ณ เวลานี้ Repository "http://cydia.hackulo.us" ใน Cydia ไม่สามารถเชื่อมต่อได้แล้วและหน้าเว็บไซต์หลักก็มีเพียงข้อความบอกลาเหลือเอาไว้

ทางทีมงานของ Hackulous ให้เหตุผลว่าเพราะชุมชนของกลุ่มนั้นซบเซามาเป็นระยะเวลาหลายปีแล้วและจำนวนผู้ใช้งานบอร์ดสนทนามีจำนวนน้อยลงอย่างมากจนเกือบเป็นเมืองร้างเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องปิดตัวลง

ซึ่งอันที่จริงเรื่องนี้ก็มีลางบอกเหตุมาสักพักหนึ่งแล้ว โดยใครที่ใช้งาน Installous ระยะหลังนี้คงจะพบกับปัญหา API error เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด
นี่คงเป็นข่าวร้ายของผู้ที่นิยมของฟรี แต่เป็นข่าวดีของคนที่อยากขายของนะครับ

ที่มา : Hackulous

...............................................................


Thai Festival in Japan 2010


ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น และคณะกรรมการจัดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 11 และด้วยความร่วมมือจากเขตชิบุยะ กำหนดจัดงานเทศกาลไทย ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2553 ณ สวนสาธารณะโยโยงิ เขตชิบุยะ กรุงโตเกียว เพื่อฉลองการจัดงานครบ 11 ปี รูปแบบของงานจะเน้นความความสนุกสนานอย่างไทยและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี กับประเทศญี่ปุ่น โดยผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ รวมทั้งกลุ่ม NGO/NPO จำนวนมากมาร่วมออกร้าน ซึ่งผู้ร่วมงานจะได้สัมผัสบรรยากาศความสนุกสนานแบบไทย ได้รับประทานอาหารไทย ชิมผลไม้ไทย พร้อมทั้ง เลือกซื้อของที่ระลึกและสินค้าไทยที่จำหน่ายในงานได้ด้วย


ในด้านความบันเทิงนั้น ในปีที่แล้ว มีศิลปินจากประเทศไทยมานำเสนอความบันเทิงและรื่นเริงมากกว่าปีที่ผ่านมา โดย วงไอน้ำ วงYokee Playboy วงAM FINE วงSweet Vacationและเนย Senorita พร้อมมาผลัดเปลี่ยนการแสดงสดบนเวทีตลอดการจัดงาน ผู้ร่วมงานทุกท่านจะได้สัมผัสความแตกต่างทางดนตรีของวงการบันเทิงไทยและชม ความสามารถของศิลปินดังกล่าวได้อย่างใกล้ชิด

นอกจากกนี้ ยังมีการแสดงนาฎศิลป์ไทยที่เป็นเอกลักษณ์โดยนาฏศิลป์อนงค์นาฎ พร้อมกับการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทยโดยวงพิณแคนโป๊ะโกะ ๒ สลับกับการแสดงโดยคณะนาฏศิลป์ญี่ปุ่น และการแสดงมวยไทยซึ่งเป็นที่เรียกร้องจากผู้ร่วมงานทุกปี

ติดตามงานเทศกาลไทยครั้งที่ 11 ได้ที่

http://www.thaifestival.jp/th



ที่มาอย่างเป็นทางการ :  http://www.thaifestival.jp/th (โฮมเพจอย่างเป็นทางการของงานเทศกาลไทย


โดย สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว )
...........................................................................................................................

ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ ?
เด็กสมาธิสั้น เป็นอย่างไร

เด็กสมาธิสั้น ( Hyperactive) หมายถึง เด็กที่ซนมากไม่อยู่นิ่ง แยกได้ 2 กลุ่มคือ

1. มีปัญหาเรื่องสมาธิบกพร่อง เช่น มีความลำบากในการฟังคำสั่งยาวๆ มีความลำบากในการทำงานหรือเล่นกิจกรรม อุปกรณ์การเรียนสูญหายบ่อย สนใจในสิ่งเร้าที่ไม่สำคัญ ขี้ลืม มักทำของหาย เหม่อลอย ช่างฝัน ลำบากในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมองเป็นเวลานาน

2. อาการหุนหันพลันแล่นจนขาดความยับยั้งชั่งใจ ซึ่งมีลักษณะคือ ไม่รู้จักระวังตัวเอง ลุกออกจากที่นั่งบ่อย ชอบวิ่งหรือปีนป่าย พูดคุยมากเกินไป มีความลำบากในการเล่นคนเดียว ลุกลี้ลุกลน อารมณ์ร้อนแปลี่ยนแปลงง่าย ขาดความอดทน ชอบพูดขัดจังหวะ รบกวน ช่างฟ้อง

สาเหตุส่วนใหญ่ มาจาก ลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในเรื่องของสารเคมีในสมองหรือระบบประสาทและ สภาพแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------

ดนตรีช่วยแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้นได้จริงหรือ ?

ดนตรีมีประโยชน์มากมาย การฟังดนตรีทำให้เราผ่อนคลาย เพลิดเพลิน มีความสุข หากเราได้เล่นดนตรีก็ยิ่งเป็นการปลดปล่อยความเครียดที่ฝังอยู่ตามกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาทให้ออกมากับการเล่นดนตรี ทำให้อารมณ์ดีขึ้น สามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ EQ สูงขึ้น

และเมื่อเด็กเรียนดนตรี เด็กจะมุ่งความสนใจไปที่เสียงดนตรีที่ตนเองสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ เด็กจะเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตนเอง และอยากจะเล่นดนตรีต่อไปเพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเด็กจดจ่ออยู่กับเสียงดนตรีที่ตนเองสร้างขึ้น ช่วงความสนใจของเด็กก็จะเพิ่มมากขึ้นทีละนิด ขี้นอยู่กับทำนองเพลงที่เด็กฝึกหัด เมื่อเริ่มแรกเด็กอาจฝึกหัดเพลงพื้นฐานสั้นๆ ช่วงความสนใจของเด็กอาจอยู่ในเวลา 1-2 นาที ลำดับต่อไปเด็กได้ฝึกเพลงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นทีละนิด เด็กก็จะมีช่วงของความสนใจเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 นาที และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากเด็กชอบและรักที่จะเล่นดนตรี

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังใจที่ครูผู้สอนและพ่อแม่ผู้ปกครองจะกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจในดนตรีมากขึ้น การเสริมแรงจากครูและพ่อแม่ผู้ปกครอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะทำให้เด็กเพิ่มความสนใจในดนตรี และจะทำให้ช่วงความสนใจของเด็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปสู่การเรียนในห้องเรียน การทำการบ้าน การอ่านหนังสือ หรือการทำสิ่งต่างๆ

จากที่โรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิมได้สอนเด็กที่มีอาการเข้าข่ายสมาธิสั้น หรือมีช่วงความสนใจต่อสิ่งต่างๆ น้อยมาก เมื่อมาเรียนขิม เด็กหลายคนมีสมาธิดีขึ้น มีสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น มีการระบายอารมณ์ออกมาในเสียงเพลงที่ตนบรรเลง ทำให้เด็กผ่อนคลายและเกิดสมาธิในการบรรเลงขิม ส่งผลให้การเรียนในห้องเรียน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ

คุณพ่อคุณแม่หรือท่านผู้ปกครอง จึงควรหันมามองบุตรหลานของท่านสักนิด ว่าเด็กมีอาการใกล้เคียงเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ หากใกล้เคียงควรปรึกษาแพทย์ หรือส่งเสริมให้เด็กเรียนดนตรี ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำหรือนั่งสมาธิ เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการให้เด็กดูโฆษณาที่มีภาพเคลื่อนไหวเปลี่ยนไปมารวดเร็ว เนื่องจากภาพเหล่านั้นจะไปกระตุ้นสมองทำให้เด็กมีภาวะสมาธิสั้นได้ง่าย

อาการสมาธิสั้นสามารถบำบัดรักษาให้ดีขึ้นได้ เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่กับเด็ก พูดคุย ซักถาม ให้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันกับเด็ก ไม่ดุว่าหรือตี เพราะจะทำให้เด็กจดจำประสบการณ์ที่ไม่ดี และเด็กจะไม่เข้าใจว่าเขาทำอะไรผิด เนื่องจากอาการต่างๆ มาจากความผิดปกติของสมองหรือสารเคมีของร่างกาย ซึ่งตัวเด็กเองไม่สามารถควบคุมได้ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจึงเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดที่สามารถช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือหายขาดได้เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เครดิต: โรงเรียนดนตรีบ้านเก่งขิม




ดนตรีบำบัดอารมณ์

คลิ๊กที่นี่

ที่มา : http://fotofools.multiply.com/.


ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง

เสาวณีย์ สังฆโสภณ

การรักษาแบบ alternative medicine หรือการแพทย์ทางเลือก เป็นวิธีการรักษาแบบอิสระที่ใช้ได้

กว้างขวางร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ดูแลพยาบาลผู้ป่วยได้มีส่วนช่วยบรรเทาความเจ็บปวด

จากภาวะต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยวิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ ช่วยลดการกระตุ้นที่ทำให้เกิด

ความเจ็บปวด ส่งเสริมการผ่อนคลายทางร่างกาย และทำให้เกิดความสุข ความงดงามทางจิตใจ ด้วยวิธีการ

ผสมผสานแบบธรรมชาติ อาทิเช่น

1. Muscle relaxation technique

2. Rhythmic breathing

3. Massage and touch therapy

4. Position and supporting

5. Heat and cold

6. Meditation , Guided Imagery

7. Yoka

8. Environment therapy

9. Art therapy , Humor therapy , Dance therapy

10. Music therapy

วิธีการดังกล่าวอาจนำมาใช้ผสมผสานร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย

มากที่สุด ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้ Music therapy เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก ง่าย ปลอดภัย และผู้ป่วยก็

ยังคงสนับสนุนให้นำมาใช้เพราะมีความรู้สึกดีต่อวิธีการนี้

การนำดนตรีมาใช้รักษาความเจ็บป่วย ได้มีมานานประมาณหลายพันปีแล้วในยุคกรีก ซึ่งเชื่อว่า

เทพเจ้าแห่งดนตรีมีชื่อว่า Apollo จะช่วยรักษาความเจ็บป่วย ขับไล่วิญญาณชั่วร้ายได้โดยการใช้เสียงดนตรี

ขับกล่อมคนป่วย ได้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัย ผลของดนตรีในแง่การรักษาอย่างจริงจังมาประมาณกว่า 50 ปี

แล้ว Buckwalter et.al.1985 พบว่าดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจของมนุษย์ สามารถ

นำมาใช้ร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ได้ผลดีในเรื่องความเจ็บปวด ลดความวิตกกังวล ความกลัว เพิ่ม

กำลังการเคลื่อนไหว สร้างแรงจูงใจให้เกิดสติ ความนึกคิด อารมณ์ และจิตใจที่ดี ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น

แข็งแรง ผ่อนคลาย และเป็นสุขได้โดยนิยมใช้ในห้องผ่าตัด ห้องคลอด หอผู้ป่วยมะเร็ง ICU ฯลฯ เป็นต้น

ดนตรีบำบัดได้ถูกนำมาใช้ในเรื่อง Relaxation และ pain control ครั้งแรกเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2

เพื่อช่วยฟื้นฟูทหารบาดเจ็บจากสงคราม มีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าดนตรีมีผลช่วยลดความเจ็บปวดใน

ผู้ป่วยมะเร็งลงได้ อาทิเช่น

- Bailey (1986) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัว อันเป็นวงจรของ

ความเจ็บปวดทำให้ผ่อนคลายและลดปวดได้

- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้

- Zimmerman และคณะ (1989) พบว่าดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้

- Munro and Mount (อ้างใน Cook1986) เสนอผลการศึกษาตัวอย่างผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระยะสุดท้ายอายุ 15 ปีซึ่งเผชิญกับความปวดหลังและปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับมีความวิตก

กังวล แนะนำวิธีการใช้จินตนาการร่วมกับการฟังดนตรี พบว่ามีประสิทธิภาพมาก

เพราะผู้ป่วยไม่ใช้ยาระงับปวดขณะวันสุดท้ายของชีวิต

- Beck (1991) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบต่อระดับความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง โดยให้กลุ่ม

ตัวอย่างเลือกฟังเพลงที่ชอบ ประเภทผ่อนคลาย 7 ชนิด เช่น เพลงคลาสสิก, แจซ,

ร็อค เป็นต้น ให้ฟังนาน 45 นาที ฟังวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน ผลการศึกษาพบว่าความปวด

ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

- Radziewicz and Schneider (1992) ศึกษาผลของดนตรีที่ผู้ป่วยชอบ เพื่อลดความเจ็บปวดใน

ผู้ป่วย Leukemia ขณะทำการเจาะไขกระดูก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับความปวด

ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

- วัลลภา สังฆโสภณ (1993) ศึกษาผลของดนตรีต่อความปวดและทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง

ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยเมื่อได้ฟังดนตรี จะมีความปวดและทุกข์ทรมานน้อยกว่าขณะไม่ได้ฟัง

ดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

- Smith M และคณะ (2001) ศึกษาผลของดนตรีต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็ง ใน

ระหว่างการฉายรังสีรักษา พบว่ามีแนวโน้มว่าดนตรีมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลลงได้

- Maxwell T และคณะ (2001) สนับสนุน วิธีการดูแลให้ความรู้เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็ง

Bone Metastasis ในเรื่องการทำ Relaxation therapy, guided imagery , music , meditation

และ touch therapy

- จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี(2003) ศึกษาผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตกกังวลและความปวดใน

ผู้ป่วยมะเร็ง พบว่าการใช้ดนตรีบำบัดสามารถลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยมะเร็งได้ แต่ยังสรุป

ได้ไม่ชัดเจนในเรื่องการลดความปวดและความทุกข์ทรมานจากความปวด

ได้มีผู้ให้คำนิยามของคำว่าดนตรีบำบัดมากมาย แต่โดยสรุป ดนตรีบำบัด หมายถึงการควบคุม,

การวางแผนการใช้ดนตรีและองค์ประกอบของดนตรี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรักษาบุคคล ซึ่งมีความ

บกพร่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ สังคม อารมณ์ สติปัญญา

จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้

1. เพื่อทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง มีความทนทานต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น มีความวิตกกังวล

ความกลัวลดลง ใช้ยาน้อยลง

2. ทำให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายจิตใจ มีความสุขเพลิดเพลิน ลืมความทุกข์ ความเจ็บปวด

ชั่วขณะ

3. ทำให้ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อทีมงานผู้รักษา แสดงออกในด้านดี

4. ช่วยทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

จุดประสงค์ของการนำดนตรีมาใช้ ก็เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากความเจ็บปวด ไปสู่ความสุข

สบายเพลิดเพลิน เนื่องจากดนตรีที่เลือกสรรแล้ว โดยเฉพาะจังหวะ ความเร็ว-ช้า ระดับของเสียงและความดัง

จะมีอิทธิพล ทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทางร่างกาย จิตใจ อันมีผลทำให้ความวิตกกังวล ความกลัวลดลงและยัง

สามารถปิดกั้นวงจรของการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้ความเจ็บปวดลดลงได้ และดนตรียังเพิ่มแรงจูงใจทำให้

อยากเคลื่อนไหว ให้เกิดผลดีในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องมี early ambulation เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก

ความเจ็บปวด ทำให้จำกัดความเคลื่อนไหว ในการนำดนตรีมาใช้ลดความเจ็บปวดนี้จำเป็นต้องใช้ร่วมกับ

Relaxation technique โดยเฉพาะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขสบายมากขึ้น แสดงออกต่อ

ผู้รักษาด้วยดี มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทีมงานผู้รักษาเป็นการปรับสภาพอารมณ์และพฤติกรรมไปในด้านดี

ส่งผลให้การรักษาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อระงับอาการปวด

1. ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ป่วยก่อน ผู้ป่วยควรมีความพร้อมที่จะใช้วิธีดนตรีบำบัด มี

บางครั้งที่พบว่าในยามปกติ ผู้ป่วยมีประวัติรักเสียงเพลงและร่วมกิจกรรมด้านดนตรี แต่เมื่อมีความเจ็บป่วย

ผู้ป่วยกลับไม่ค่อยตอบสนองต่อดนตรีเลย หรือปฏิเสธที่จะฟังดนตรี จึงควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ชอบ

2. การสำรวจผู้ป่วยในเรื่องประสบการณ์ด้านดนตรี, ความสามารถด้านดนตรี ประเภทเพลงที่

ผู้ป่วยชอบ เครื่องดนตรีหรือเพลงที่ผู้ป่วยคุ้นเคยซึ่งจะช่วยให้การจัดกิจกรรมดนตรีง่ายขึ้น และเป็นการสร้าง

ความรู้สึกอบอุ่นประทับใจแก่ผู้ป่วย

3. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบายที่สุด เจ็บปวดน้อยที่สุด โดยแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ใส่สบายไม่อึดอัด

ใช้หมอน ผ้าห่ม ฯลฯ ช่วยพยุงปรับให้อยู่ในท่าที่พอดี

4. ควรอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิเย็นสบาย ไม่มีเสียงรบกวน ปรับแสงสีในห้อง

ให้เย็นตา สะอาด เรียบร้อย สวยงาม

5. เลือกใช้เครื่องเสียงที่มีคุณภาพ ที่ผู้ป่วยจะสามารถใช้ได้เองด้วยตนเองตามสะดวกและปลอดภัย

6. จัดเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือดูแล สอน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจผู้ป่วย ขณะที่ใช้วิธีการดนตรี

บำบัดร่วมกับเทคนิคการผ่อนคลาย

7. ควรมีการประเมิน ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ก่อน-หลังทำ

วิธีการทางดนตรีบำบัดมีหลายวิธี อาทิเช่น

- การฟังดนตรี

- การร้อง

- การเล่นดนตรี

- การเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับดนตรี

การฟังดนตรี เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ผ่อนคลายง่าย

ที่สุด โดยให้ฟังจากแผ่นเสียง เทป วิทยุ หรือชมการแสดงคอนเสิร์ต โดยจัดให้ฟังในเวลาที่ยาลดความ

เจ็บปวดกำลังออกฤทธิ์ และใช้เทคนิคการผ่อนคลายร่วมด้วย เวลาที่ใช้ในการฟัง หรือจำนวนครั้งที่ฟังในแต่

ละวันขึ้นกับวัตถุประสงค์ของการรักษา และความพร้อมของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย เช่นอาจให้ฟังตามอาการ

หรือฟังเป็น Background เบาๆเกือบทั้งวัน, Herth (1978) จัดดนตรีให้ผู้ป่วยฟัง 5 นาทีก่อนที่จะมี activity ที่

จะก่อให้เกิดความเจ็บปวด, Zimmerman และคณะ (1989) จัดให้ฟังดนตรีลดความเจ็บปวดในผู้ป่วยมะเร็ง

ครั้งละ 30 นาที ในขณะที่ program ของผู้ป่วย oncology ใน ICU นิยมนำเพลงมาเปิดให้ผู้ป่วยฟัง 30 นาทีทุก

เช้า-เย็น

อย่างไรก็ตาม ดนตรีสามารถช่วยลดความเจ็บปวดได้ถึงจุดหนึ่ง และเป็นเวลาชั่วคราว จึงจำเป็นต้อง

ฟังตามอาการเป็นประจำ ซึ่งการฟังเพลงร่วมกับการใช้เทคนิคผ่อนคลายเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเนื่องจากเป็น

การลงทุนที่ต่ำ แต่ได้ประโยชน์สูงมาก ไม่มีพิษภัยและใช้ได้อย่างอิสระ

ได้มีผู้เขียนแนะนำวิธีการใช้เทคนิคผ่อนคลายไว้หลายวิธี แต่สามารถสรุปได้อย่างคร่าวๆ ว่าวิธีการ

ดังกล่าว คือ ให้ผู้ป่วยหลับตาสงบนิ่ง ปล่อยร่างกายทุกส่วนให้ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง ให้เกิดความรู้สึกคลายตัว

ของกล้ามเนื้อตั้งแต่เท้าจนถึงใบหน้า พยายามควบคุมลมหายใจ ให้ราบเรียบ ไม่มีเสียงดัง ในขณะหายใจเข้า-

ออก ลึกๆ-ยาวๆ อย่างช้าๆ นับ 1-2-3 ขณะหายใจเข้า หยุดนิ่งและหายใจออก ทำในจังหวะสม่ำเสมอ อาจให้

นึกถึงภาพที่ทำให้มีความสุข คำพูดที่ดีๆ ที่ช่วยให้เกิดความสงบ เจ้าหน้าที่อยู่ใกล้ๆ คอยช่วยสอนแนะนำ

และเตือนให้ผ่อนคลาย มีรายงานว่าเทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดความเครียดและลดความเจ็บปวดได้

ในขณะที่ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย อาจมีประคบความร้อน หรือความเย็นตามความเหมาะสม หรือ

ช่วยบีบนวดเพื่อคลายปวดได้อีกด้วย และที่สำคัญคืออย่าลืมใช้ดนตรีร่วมด้วยจะสามารถเบี่ยงเบนความสนใจ

ทำให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น

นอกจากการให้ผู้ป่วยฟังดนตรีแล้วยังสามารถให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดนตรีอื่นๆ ได้ตามความสามารถ

ของแต่ละคน เช่น การเปล่งเสียงร้องฮัมตามเพลง เพื่อคลายความเครียด ความวิตกกังวล การเคาะจังหวะ

การตบมือ เพื่อสร้างสมาธิ การเล่นดนตรี อาทิเช่นเครื่องเป่า เพื่อระบายความรู้สึกทำให้สบายขึ้นหรือการ

ร่วมกิจกรรมดนตรีเป็นกลุ่ม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยและผู้รักษา เป็นต้น โดยเฉพาะผู้รักษา

ควรเรียนรู้วิธีการใช้เสียงพูดที่นุ่มนวล ราบเรียบไม่ดังมาก จะช่วยให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการฝึกยิ่งขึ้น

ลักษณะของดนตรีที่ใช้

1. ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง, มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก ฯลฯ

2. มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอ ขนาดช้าถึงปานกลางประมาณ 70-80 ครั้ง/นาที

3. ทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ผ่อนคลายสดชื่น สอดคล้อง

4. ระดับเสียงปานกลาง - ต่ำ

5. ความเข้มของเสียง ไม่ดังมาก ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ป่วย เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้น

ให้มีความเจ็บปวดมากขึ้นได้

6. ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้ อาทิ เช่น พิณ เปียโน กีต้าร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า นุ่มนวล

Pop Classic เป็นต้น

7. เป็นดนตรีที่ผู้ป่วยมีส่วนในการคัดเลือก และอาศัยความคุ้นเคย ความชอบของผู้ป่วยร่วมด้วย

ตัวอย่างดนตรีที่ใช้ในการทำวิจัยโรคต่างๆ

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของบำเพ็ญจิต แสงชาติ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด

และจำนวนครั้งของการใช้ยาระงับปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะ(1985)

1. ลาวดวงเดือน

2. ลาวเจริญศรี

3. ลาวกระทบไม้

4. มอญดูดาว

5. เขมรไทรโยค

6. ลมหวล

7. เงาไม้

8. Symphony No. 9 ท่อนช้าของ Beethoven

9. Adagio Molto cantabile

10. Suite from " Water music" ของ Handel

11. Music from Shakespeare

12. Lullaby ของ J. Brahms

13. Trumpet concerto ของ HAYDN

14. Guitar concerto Rodigo

15. Winter farewell

16. Romance in F ของ Beethoven

17. Romance in E minor Anonymous

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของ โฉมนภา กิตติศัพท์ เรื่องผลของดนตรีต่อการลดความเจ็บปวด

และความวิตกกังวลในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (1993)

1. เขมรไทรโยค

2. ขึ้นพลับพลา

3. ในฝัน

4. จันทร์เอ๋ย

5. ลาวดวงเดือน

6. Largo ของ Handel arr. F. Pourcel 1981

7. Gymnopedie No. 3 ของ E.Satie orchestration: C.Debussy.

8. REVE D' AMOUR ของ F.Liszt arr F.Pouecel 1981

9. Valse, Op.39 ของ J. Brahms arr F. Pourcel. 1981

10. None but the lonely heart ของ Tchaikovsky.

11. Andante Cantabile from String Quartet No. l ของ Tchaikovsky

12. Barcarolle (June)from the Months. ของ Tchaikovsky.

13. II Andante cantabile con moto ของ Beethoven, Symphony No.l in C Major, Op. 21.

14. III Adagio from Serenade No. 10 for Thirteen Wind, K316 ของ Mozart.

15. Telemann: Trio Sonata in A Minor.

16. Always on my mind.

17. II Adagio : Concerto No. 3 in G Major for violin and orchestra, K216 ของ Mozart

18. II Andante Cantabile: Concerto No. 4 in D Major for violin and orchestra, K218 ของ Mozart.

19. Horn Concerto ของ Richard Strauss. "Concerto for horn and orchestra No. 2 in Eb

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในการวิจัยของวัลลภา สังฆโสภณ เรื่องผลของดนตรีต่อความเจ็บปวด และความ

ทุกข์ทรมานในผู้ป่วยมะเร็ง (1993)

1. สวนอัมพร

2. สนามหลวง

3. เมื่อวานนี้

4. ลมหวล

5. ลาวกระแตเล็ก

6. ทะยอยญวน

7. ลาวดวงเดือน

ดนตรีบรรเลงที่ใช้ในงานวิจัยของ จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี เรื่องผลของดนตรีบำบัดต่อความวิตก

กังวลและความปวดในผู้ป่วยมะเร็ง (2003)

1. Sound of the sea arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Beyond the

Horizon, In a protected Cove, Forever by the Sea, Timeless and Free.

2. Sound of songbird arranged by John Herberman and produced by Gordon Gibson: New

England Spring, Northern Mist, Coastal Horizon, Prairie Giory, Dawn in the Valley

3. Sound of the stream arranged by Michael Maxell and produced by Gordon Gibson: Pool of

Mirror, The Repose, Quiet Longing, After the Rain.

4. Sound of the Wind arranged and produced by Eclipse Music Group: Riding the Wind.

เครดิต :คุณ เสาวณีย์ สังฆโสภณ




ดนตรีบำบัด


Music Therapy

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

ดนตรี (Music) คือ ลักษณะของเสียงที่ได้รับการจัดเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยมีแบบแผน และโครงสร้างชัดเจน สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 3 ด้านใหญ่ๆ คือ เพื่อความสุนทรีย์ เพื่อการบำบัดรักษา และเพื่อการศึกษา

ดนตรี มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีผล ดังนี้

ผลของดนตรีต่อร่างกาย สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อัตราการหายใจ อัตราการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต การตอบสนองของม่านตา ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และการไหลเวียนเลือด

ผลของดนตรีต่อจิตใจและสมอง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ อารมณ์ สติสัมปะชัญญะ จินตนาการ การรับรู้สภาพความเป็นจริง และการสื่อสารทางอวัจนะภาษา

องค์ประกอบต่างๆ ของดนตรี ก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป เช่น

1) จังหวะหรือลีลา (Rhythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ (Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย (Relax)

2) ระดับเสียง (Pitch) เสียงในระดับต่ำ และระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ

3) ความดัง (Volume/ Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจ ในขณะที่เสียงดังทำให้เกิดการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบในการควบคุมตนเองได้ดี มีความสงบ และเกิดสมาธิ

4) ทำนองเพลง (Melody) ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล

5) การประสานเสียง (Harmony) ช่วยในการวัดระดับอารมณ์ความรู้สึกได้โดยดูจากปฏิกิริยาที่แสดงออกมาเมื่อฟังเสียงประสานต่างๆ จากบทเพลง

ดนตรีบำบัดคืออะไร

ดนตรีบำบัด (Music Therapy) คือศาสตร์ที่ว่าด้วย การนำดนตรีหรือองค์ประกอบอื่นๆ ทางดนตรี มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับเปลี่ยน พัฒนา และคงรักษาไว้ซึ่งสุขภาวะของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม โดยนักดนตรีบำบัดเป็นผู้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ผ่านทางกิจกรรมทางดนตรีต่างๆ อย่างมีรูปแบบโครงสร้างที่ชัดเจน มีหลักเกณฑ์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

เป้าหมายของดนตรีบำบัดไม่ได้เน้นที่ทักษะทางดนตรี แต่เน้นในด้านพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละบุคคลที่มารับการบำบัด สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายบริบท เช่น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์

ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับอายุ และหลากหลายปัญหา ลักษณะเด่น ได้แก่

1) ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย

2) กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน

3) กระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน

4) ช่วยพัฒนาอารมณ์ และจิตใจ

5) เสริมสร้างทักษะทางสังคม และการสื่อสาร

6) ให้การรับรู้ที่มีความหมาย และความสนุกสนาน ไปพร้อมกัน

7) ประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัด

ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ตามเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไปทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้ โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ การบาดเจ็บทางสมอง ความพิการทางร่างกาย อาการเจ็บปวด และภาวะอื่น ๆ

สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียด และในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ

ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้

1) ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีมุมมองในเชิงบวก

2) ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (Anxiety/ Stress Management)

3) เสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (Cognitive Skill)

4) กระตุ้นประสาทสัมผัสการรับรู้ (Perception)

5) เสริมสร้างสมาธิ (Attention Span)

6) พัฒนาทักษะสังคม (Social Skill)

7) พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (Communication and Language Skill)

8) พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Motor Skill)

9) ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle Tension)

10) ลดอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่างๆ (Pain Management)

11) ปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม (Behavior Modification)

12) สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่างๆ (Therapeutic Alliance) ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้เสริมสร้างสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี โดยบูรณาการเข้ากับการรักษาอื่น

กระบวนการและรูปแบบดนตรีบำบัด

ในการทำดนตรีบำบัด ไม่มีกระบวนการและรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องออกแบบการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และตามสภาพปัญหา มีการวางแผนการบำบัดรายบุคคล โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

1) การประเมินผู้รับการบำบัดรักษา

- ศึกษาข้อมูลประวัติส่วนตัว และประวัติทางการแพทย์

- ประเมินปัญหาและเป้าหมายที่ต้องการบำบัด

- ประเมินสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และทักษะการคิด

2) วางแผนการบำบัดรักษา

- ออกแบบโปรแกรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยยึดเป้าหมายเป็นสำคัญ

- รูปแบบผสมผสานกระบวนการต่าง ๆ ทางดนตรี เช่น ร้องเพลง แต่งเพลง ประสานเสียงจินตนาการตาม หรือลีลาประกอบ เป็นต้น

3) ดำเนินการบำบัดรักษา

- สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับการบำบัด โดยใช้ดนตรีเป็นสื่อ และทำดนตรีบำบัดร่วมกับการบำบัดรักษารูปแบบอื่นๆ แบบบูรณาการ

4) ประเมินผลการบำบัดรักษา

- ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และปรับแผนการบำบัดให้เหมาะสม

ดนตรีบำบัดในโรงพยาบาล

ในโรงพยาบาลต่างๆ มีการนำดนตรีบำบัดมาร่วมบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่นๆ เพื่อเป้าหมายต่างๆ กัน ดังตัวอย่างเช่น

1) กระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ

2) ช่วยเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายในการฟื้นฟูสมรรถภาพ

3) ลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว รุนแรง อยู่ไม่นิ่ง ร่วมกับการทำพฤติกรรมบำบัด และการใช้ยา

4) ช่วยให้สงบและนอนหลับได้ ในผู้ที่มีความกลัว ความเครียด ร่วมกับการปรับสิ่งแวดล้อม และการใช้ยา

5) ปรับเปลี่ยนอารมณ์ ร่วมกับการใช้ยา และจิตบำบัดในโรคซึมเศร้า

6) เสริมในกระบวนการบำบัดต่างๆ ทางจิตเวช

7) ลดความเจ็บปวด ร่วมกับการใช้ยาแก้ปวด

ดนตรีบำบัดในโรงเรียน

ในโรงเรียนมีการนำดนตรีบำบัดมาใช้ใน 2 ด้านใหญ่ๆ คือ

1) เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็ก ในทักษะด้านต่างๆ นอกเหนือจากทักษะทางดนตรี เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานประสานสัมพันธ์กันของร่างกาย

2) เสริมในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ที่มา : http://www.happyhomeclinic.com/a06-musictherapy.htm